AMEICC คือ

ประวัติความเป็นมา

คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น หรือ AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee (AMEICC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1998 ภายใต้การรับรองจากที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและญี่ปุ่น ที่จัดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1997 โดยตามวัตถุประสงค์ AMEICC เป็นหน่วยงานส่งเสริมการหารือด้านนโยบายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางอุตสาหกรรม การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มอาเซียน และความช่วยเหลือด้านความร่วมมือในการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกใหม่ การประชุมครั้งแรกของ AMEICC จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 1998 ที่กรุงเทพฯ และมีการจัดประชุมประจำปีอย่างต่อเนื่อง

What is AMEICC

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของ AMEICC ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก:

  • Improvement of ASEAN competitiveness

    การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มอาเซียน
  • Enhancement of industrial cooperation

    การเสริมสร้างความร่วมมือทางอุตสาหกรรม
  • Development cooperation assistance to new ASEAN member countries

    การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนากับประเทศสมาชิกใหม่ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

โครงสร้าง

ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) และองค์กร AOTS สำนักเลขาธิการ AMEICC (AMEICC Secretariat) ดำเนินการประชุมในระดับรัฐมนตรี, คณะทำงานภาคอุตสาหกรรม และโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ AMEICC จะนำเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ให้กับที่ประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (AEM-METI)

Structure : AEM-METI

  • Discussion at Ministerial Level
  • Sectoral Working Groups
  • ASEAN-Japan Cooperative Projects

1. การประชุมระดับรัฐมนตรี

(ก) การประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (AEM-METI Consultations)

ตั้งแต่ AMEICC ก่อตั้งในปีค.ศ. 1998 ทางหน่วยงานได้เข้าร่วมการประชุม AEM-METI ทุกปี เพื่อรายงานการดำเนินกิจกรรมล่าสุดของ AMEICC ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนและญี่ปุ่นให้แก่คณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งนำเสนอนโยบายตามความจำเป็น

(ข) การประชุมระดับรัฐมนตรี กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น (MJEMM) ได้จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ค.ศ. 2009 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น โดยมีการรายงานข้อมูลสำคัญแก่ผู้นำในประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-และญี่ปุ่นได้รับทราบ AMEICC จึงมีหน้าที่จัดการประชุมและเป็นเลขาธิการหลักของการประชุมระดับรัฐมนตรีนี้ เพื่อรายงานผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญล่าสุด จากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งรายงานความคืบหน้าและทิศทางในอนาคตของการพัฒนาประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงให้กับรัฐมนตรี

2. การประชุมคณะทำงานภาคอุตสาหกรรม

(ก) อุตสาหกรรมยานยนต์ (WG-AI)

เนื่องจากอาเซียนเป็นศูนย์กลางเชิงยุทธศาสตร์ด้านการผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่น WG-AI เป็นการประชุมที่เริ่มตั้งแต่การก่อตั้ง AMEICC ในปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน, ให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาร่วมกันแก่ประเทศ กัมพูชา ลาว และพม่า (CLM) และอำนวยการแลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายและทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ (เช่น การพัฒนายานพาหนะพลังงานไฟฟ้า, ความเป็นกลางทางคาร์บอน, และบริการด้านระบบการเดินทาง)

(ข) อุตสาหกรรมเคมี (WG-CI)

WG-CI มุ่งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี และปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารเคมีในประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีค.ศ. 1999 นอกจากนี้ WG-CI ยังครอบคลุมเรื่องฐานข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีของประเทศในอาเซียนและญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Chemical Safety Database (AJCSD)) ซึ่งมีข้อมูลด้านกฎระเบียบการควบคุมสารเคมี รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ เช่น นโยบายการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะพลาสติก การป้องกันภัยพิบัติ การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีผ่านการสนับสนุนเชิงเทคนิค และแนวนวัตกรรมของอุตสาหกรรมเคมี เพื่อให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนและเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น

(ค) ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

AMEICC ได้เข้าร่วมการปรึกษาร่วมระหว่างคณะกรรมการประสานงานธุรกิจขนาดย่อม ขนาดเล็กและขนาดกลางของ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และสำนักงานส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small and Medium Enterprises (ACCMSME)) ของญี่ปุ่นตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างธุรกิจ SMEs เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ในอาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนด้านนโยบายส่งเสริม SMEs ส่งเสริมการพัฒนา SMEs ในพื้นที่ชนบทของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ในการพัฒนาธุรกิจ SMEs

(ง) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก (WEC-WG)

WEC-WG มุ่งลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่าของอาเซียน 6 ประเทศ และสมาชิกใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงในทุกด้านที่สำคัญ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น (Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation Initiative (MJ-CI)), วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมแม่น้ำโขง หรือ MIDV (2016-2020) และ MIDV 2.0 (2019-2023) รวมทั้งการพูดคุยระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ "Mekong-Japan Industrial Government Dialogue" ที่จะจัดขึ้นคู่ขนานกับ WEC-WG โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างญี่ปุ่นและประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง

3. โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น

นอกเหนือจากคณะทำงานภาคอุตสาหกรรมแล้ว โครงการต่างๆ ของ AMEICC ยังได้รับการส่งเสริมภายใต้กรอบความร่วมมือ อาเซียน-ญี่ปุ่นด้วย ดังต่อไปนี้

โครงการการพัฒนาเอเชียสู่ยุคดิจิทัล (Asia Digital Transformation(ADX) program): AMEICC ได้สนับสนุนโครงการสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งมุ่งเป้าเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเอเชียสู่ยุคดิจิทัล (ADX) อย่างเข้มแข็ง โดยได้รับทุนจาก METI ประเทศญี่ปุ่น และโครงการนี้ยังนับเป็นหนึ่งในโครงการหลักของแผนปฏิบัติการการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Economic Resilience Action Plan) ที่มุ่งส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงปัญหาที่เกิดจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 โครงการ ADX ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการสาธิตเทคโนโลยีดิจิทัลที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทในอาเซียนในหลายแขนง เช่น การแพทย์และการดูแลสุขภาพ เกษตรกรรม การประมง การท่องเที่ยวและการเคลื่อนที่ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน และการผลิตและทรัพยากรมนุษย์

โครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานข้ามชาติ: โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการหลักของแผนปฏิบัติการการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Economic Resilience Action Plan) ทาง AMEICC ได้สนับสนุนโครงการช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งได้รับทุนจาก METI ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายสนับสนุนความอยู่รอดของอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศในอาเซียนและญี่ปุ่นที่สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่นและเข้มแข็ง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การนำเสนอเครื่องมือ (ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นสูงในฐานการผลิตระหว่างประเทศ) รวมถึงการดำเนินการโครงการสาธิตและการศึกษาความเป็นไปได้

รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนักเลขาธิการ AMEICC